วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

แบ่งปันโภชนาการภาค 3 นมวัว นมแพะ และโยเกิร์ต

 วันนี้เรามาว่ากันต่อในเรื่องของนม ซึ่งก็เป็นปัญหาที่คาใจหลายๆคน เช่นทำไมน้องกินนมวัวแล้วตาย แอสบิแลคก็นมวัวทำไมกินแล้วดี

ทำไมกินนมแพะแล้วท้องเสีย เอ๊ะ โยเกิร์ตก็นมวัว ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?


                          ส่วนประกอบหลักๆของน้ำนมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนมคน นมวัว นมแพะ นมม้า หมี เสือ ชูก้าร์ กระรอก ว่าง่ายๆของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะ

มีส่วนประกอบหลัก คือ โปรตีน แยกเป็นเคซีน กับ เวย์   น้ำตาลแลคโตสหรือน้ำตาลนม ไขมันและแร่ธาตุต่างๆ

                          เคซีน เป็นโปรตีนหลักในน้ำนมมีสัดส่วนตั้งแต่ 60% ขึ้นไป มีสีขาวไปจนถึงขาวอมเหลือง

                          เวย์ โปรตีน จะว่าไปก็คือโปรตีนชนิดหนึ่งในน้ำนมซึ่งจะมีปริมาณน้อยตั้งแต่ 1-10% 

มีคุณสมบัติพิเศษคือร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ง่ายและแทบจะไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยเลย สมัยก่อนใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ เพราะจะมี

เวย์โปรตีนเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จากอุตสาหกรรม การทำเนยและชีส โดยการทำให้เคซีนในน้ำนมตกตะกอนเป็นเนยหรือชีส  แล้วไอ้น้ำใสๆส่วนเกินที่เหลือทิ้งนั่นแหละครับ

ปัจจุบันมีความพยายามนำเวย์โปรตีนมาใช้ในอาหารเสริมของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยง โดยบวกค่าการตลาดและกำไรมากเกินงาม

แต่ที่ผมเคยเช็คราคามาเวย์โปรตีนที่ทางฟาร์มโคนมทางอีสานเค้าขายเพื่อเป็นอาหารเสริมของหมู ราคาเป็นกิโลนะครับ ขอย้ำเป็นกิโล อยู่ที่กิโลละ 22 บาท

ไม่ใช่ราคาชั่งเป็นกรัมอย่างที่ อาหารของชูการ์ยี่ห้อดังของต่างประเทศ เค้าขายในราคาแสนแพงนะครับ

                          น้ำตาลแลคโตส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่เฉพาะในน้ำนม ปริมาณจะมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของสัตว์แต่ละชนิด

กลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีปริมาณแลคโตสในน้ำนมสูง ได้แก่ คน วัว ควาย แพะ แกะ  ส่วนที่เหลือ หมาแมว ม้า ลา กระต่าย กระรอก ชูก้าร์

มีปริมาณแลคโตสในน้ำนมต่ำมาก น้ำย่อยที่สามารถย่อยแลคโตสได้ จะมีในสัตว์ที่อยู่ในช่วงระยะไม่หย่านมหรือลูกสัตว์ แต่ในสัตว์โต จะต้องอาศัยจุลลินทรีย์

ที่มีมากในลำไส้ มาเป็นตัวช่วยในการย่อย เพราะไม่มีน้ำย่อยแลคโตสนั่นเอง


                           หลังจากที่ทำความรู้จักกับองค์ประกอบหลักของนมไปแล้วเรามาดูกันต่อว่าในนมแต่ละชนิด มีข้อแตกต่างยังไงบ้าง


                           นมวัว มีปริมาณโปรตีนสูงมากแต่จะเป็น เคซีนที่มีโมเลกุลใหญ่มากๆ ย่อยยาก น้ำตาลแลคโตสสูง ถ้าน้ำมาให้กับลูกชูการ์หรือชูการ์โต ในปริมาณมากๆ

โอกาสที่จะเสียชีวิตคือ 100% เพราะว่าไม่สามมารถย่อยได้เลยทั้งเคซีนและ แลคโตส ก็จะทำให้น้ำนมค้างอยู่ในลำไส้ ตัวที่จะมาย่อยแทนน้ำย่อย ก็คือแบคทีเรียที่ไม่ดี

ทั้งหลายแหล่ จะเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือเป็นอาการที่เรียกว่าแบคทีเรียบูม ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ของน้องขยายตัวออกมาจนแน่นลำไส้ไปหมด

จนเสียชีวิตหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ท้องอืด


                           นมแพะ มีปริมาณโปรตีนและแลคโตสสูงมากมากกว่านมวัวเสียอีก แต่ในส่วนของเคซีน จะมีโมเลกุลขนาดเล็กกว่านมวัว 4-6 เท่าตัวทำให้ไม่เป็นปัญหา

ในระบบย่อยและการดูดซึมของสัตว์เล็ก แต่ตัวที่จะสร้างปัญหาได้ก็คือแลคโตสที่สูงมาก น้ำย่อยของลูกชูการ์ที่ร่างกายผลิตไม่สามารถย่อยได้ทัน ก็จะทำได้เกิดอาการท้องเสีย

แต่ถ้าเป็นเคสที่เลี้ยงผสมกับซีรีแลคค่อยๆให้จากปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ ก็จะทำให้แบคทีเรียในลำไส้ที่สามารถย่อยแลคโตสได้ ค่อยๆเพิ่มจำนวน

จนสามารถย่อยแลคโตสที่มีปริมาณมากๆได้ ว่าง่ายๆที่เรียกกันว่าปรับท้อง


                           นมทดแทนลูกสัตว์ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง เอสบิแลคแล้วกันนะครับ เพราะเป็นตัวที่ทางฟาร์มใช้ป้อนลูกชูการ์อยู่ ผลิตมาจากนมวัวก็จริง

แต่ผ่านกระบวนการที่ปรับโครงสร้างโมเลกุลของเคซีนให้มีขนาดเล็กและปริมาณของแลคโตสให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำ จึงเหมาะสมที่นำมาเลี้ยงลูกชูการ์

แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นอาหารเสริมของชูการ์ โต เพราะราคาค่อนข้างสูง
 โยเกิร์ต  เป็นอาหารที่ผลิตมาจากนมวัวเหมือนกันแต่ ข้อแตกต่างคือการ หมักนมวัวด้วยจุลลินทรีย์ ที่มีประโยชน์  ต่อร่างกายซึ่งจุลลินทรีย์ตัวนั้น

ก็คือ แลคโตบาซิสลัส เป็นตัวเดียวกันกับที่มีในยาคูลย์หรือนมเปรี้ยวทั่วไป ไอ้เจ้าแลคโตบาซิสลัสนี่เองที่เป็นตัวเข้าไปช่วยย่อยเคซีนที่มีโครงสร้างซับซ้อนให้เล็กลง

และก็ยังช่วยย่อย น้ำตาลแลคโตส ให้กลายเป็นน้ำตาลกาแลคโตส และกลูโคส ที่ร่างกายสามารถน้ำไปใช้ได้และจากกระบวนการย่อยแลคโตส ทำให้เกิดกรดแลคติก

ซึ่งทำให้โยเกิร์ตมีรสเปรี้ยว ไอ้เจ้ากรดแลคติกนี่ก็จะเข้าไปช่วยให้กระบวนการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ว่ากันเป็นภาษาชาวบ้านก็คือว่าการกินนมและ

โยเกิร์ตในปริมาณที่เท่ากัน ร่างกายได้รับประโยชน์จากโยเกิร์ตได้มากกว่านมค่อนข้างมาก

                            นอกจากนี้แล้วโยเกิร์ตยังจะช่วยปรับสมดุลย์ในลำไส้ เพราะเจ้าแลคโตบาซิสลัสจะเข้าไปฆ่าพวกแบคทีเรียไม่ดีต่างๆ รวมทั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ

และยังเข้าไปจับอยู่ที่ผนังลำไส้ ทำให้พวกเชื้อแบคทีเรียและปรสิตต่างๆ ไม่มีที่ยึดเกาะพอไม่มีที่ยึดเกาะก็ถูกกำจัดโดยจำแลคโตบาซิสลัสนั่นเอง แต่ในการเลือกซื้อโยเกิร์ตมาให้น้องๆกิน

นั้นควรเลือกรสธรรมชาติ เพราะกระบวนการปรุงรสแตงกลิ่น ทำให้เชื้อจุลลินทรีย์ที่มีชีวิตต้องตายไปอย่างมโหราน ทำให้ประโยชน์ที่ควรจะได้ลดลงไป

เห็นกันแล้วใช่มั้ยครับว่าโยเกิร์ตมีประโยชน์ เพียงไร   วันนี้คุณให้ลูกๆกินโยเกิร์ตรึยัง


ติดตามสาระน่ารู้ได้ที่นี่นะจ๊ะ  
http://board.thaipetonline.com/index.php/board,131.0.html

พัฒนาการและการกินอาหารของเจ้าตัวยุ่ง

 ช่วงอายุ 2.5-3 เดือน ระยะเริ่มต้น

                น้องๆจะมีขนเรียบ บางส่วนเช่น ขนใต้ท้องอาจจะยังขึ้นไม่เต็มที่ ระยะนี้ควรระวังในเรื่องของอุณหภูมิเป็นพิเศษ เพราะลูกน้อยที่อยู่กับแม่จะได้ไออุ่นจากร่างกายของแม่

ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 C ส่วนอุณหภูมิในบ้านเราช่วงกลางคืนบางครั้งอาจจะลดลงถึง 25 C แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะอุณหภูมิภายในห้องจะค่อยๆลดลงทีละน้อย

บวกกับชุดเครื่องนอนที่พ่อแม่ของเค้าจัดเตรียมไว้ให้  มีผ้านุ่มๆหรือถุงนอนอุ่นๆ  เด็กๆก็สามารถรับมือได้สบายแล้ว แต่ควรระวังในกรณีที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกระทันหัน

เช่น ฝนตก หรือในช่วงนี้ที่ลมหนาวเริ่มพัดมา ควรป้องกันด้วยการหาผ้ามาคลุมกรงหรือตะกร้าของน้องๆเพื่อกันลมไว้ด้วยครับ เด็กๆจะระแวงกับทุกๆอย่างรอบกาย

เพราะเค้าเพิ่งจะลืมตาดูโลกได้ไม่กี่วัน (จะลืมตาประมาณอายุ  70 วัน หรือหลังออกจากกระเป๋าประมาณ หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ)

                 อาหารควรให้ปริมาณไม่มากแต่บ่อยๆ ถ้ามีเวลาควรป้อนทุกๆสองชั่วโมง หรือขั้นต่ำวันละ 6 ครั้งในกรณีที่ไม่มีเวลา ในระหว่างป้อน น้องอาจจะฉี่ออกมา

เราอาจจะเอากระดาษทิชชู่วางไว้ตรงก้นน้องเพื่อคอยซับฉี่ไปด้วยก็ได้ ถ้าเพื่อนๆที่ไม่กล้าจับน้องป้อนเพราะกลัวว่าจะจับแรงเกินไป น้องจะเจ็บ ใช้ผ้านุ่มๆห่อตัวน้อง

แล้วโผล่แต่ส่วนหัวออกมาก็ได้ครับ

ช่วงอายุ 3-3.5 เดือน ระยะเรียนรู้


                  ช่วงนี้แหละครับ ที่สมกับฉายา เจ้าตัวยุ่ง เพราะว่าน้องๆ จะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวปีนป่ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ความกลัวและหวาดระแวงลดลงไปมาก

ขนจะขึ้นเต็มและเริ่มฟูขึ้นเรือยๆ เริ่มเรียนรู้การกินอาหารเอง ควรใส่นมลงในจานหรือถ้วยก้นตื้นๆนิดนึง ระหว่างที่กินจะสะบัดหัวตลอดเวลา บางครั้งจะเดินย่ำลงไปในจานนม

รอบกายน้องนี่จะเต็มไปด้วยนมครับ  ถ้าเอากระดาษรองไว้ใต้จานก็จะพอช่วยได้บ้าง หลังจากกินเสร็จ ก็จะเป็นเวลาทำความสะอาดคราบนมที่เลอะครับ

                  ในวัยนี้ จะให้อาหาร ทุกๆ 3-4 ชั่วโมงหรือ ขั้นต่ำวันละ 4 ครั้ง ควรจะให้เค้าเริ่มเรียนรู้อาหารแข็งแช่นผลไม้บ้างโดยการวางผลไม้ชิ้นเล็กๆไว้ในกรง

เค้าอาจจะไม่กินเลยแค่ดมๆเลียๆ หรืออาจจะกินมากเป็นพายุ แต่ก็ไม่ควรให้ผลไม้ในปริมาณมาก เพราะเราต้องการแค่ให้น้องๆได้เรียนรู้เท่านั้นครับ


                    ช่วงอายุ 3.5-4 เดือน ระยะหย่านม

                   สรีระของเด็กๆในช่วงนี้เริ่มจะใกล้เคียงชูก้าร์ผู้ใหญ่ ต่างกันแค่เพียงน้ำหนักกับขนาดตัว หางจะฟูมาก เริ่มคุ้นเคยและผูกพันกับเจ้าของ  กินอาหารก็ไม่เลอะเทอะอีกต่อไป

ถ้าน้องๆเริ่มกินผลไม้อย่างจริงๆจังๆแล้ว ควรค่อยๆลดมื้อของนมลง แล้วเพิ่มในส่วนของผลไม้ทั้งปริมาณและความหลากหลาย จากวันละสี่มื้อก็ค่อยๆลดลงเหลือสาม สอง หนึ่ง

จนเลิกให้นม แล้วเริ่มให้กินอาหารโปรตีนชนิดอื่นๆ  เช่น แมลง โยเกิร์ต หรืออาจจะเริ่มด้วยโปรตีนที่ย่อยง่ายอย่างไข่ก่อนก็ได้ จะไข่ตุ๋น ไข่กวน หรือไข่ผงชง ก็ตามสะดวกครับ

แต่ที่สำคัญห้ามปรุงรสนะครับ ยกเว้นเพิ่มความหอมหวาน ด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อยอันนี้ไม่ว่ากันนะครับ



                    ** ช่วงอายุของน้องๆ ส่วนใหญ่เราจะนับจากวันออกจากกระเป๋า ว่าน้องอายุ 2 เดือน แต่บางตัวออกมายังตัวแดงๆอยู่ บางตัวออกมาขนขึ้นเกือบเต็มแล้วก็มี

ดังนั้นเรื่องของอายุเป็นการประมาณการ ควรใช้การสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการร่วมด้วย


อ้างอิงโดย  http://sgloverclub.ectza.com/thread-1922-1-1.html  พี่เอกชูก้า


                                                     

การดูเพศชูการ์ไกรเดอร์

การดูเพศ

ตัวเมีย จะมีกระเป๋าที่หน้าท้อง ตอนที่อายุน้อยจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเพราะขนยังขึ้นไม่เต็มที่ และเมื่ออายุโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้ยากเพราะขนจะขึ้นปรกคลุมบริเวณนั้น
ตัวผู้ จะมีลูกอัณฑะอยู่บริเวณหน้าที่ (ตำแหน่งเดียวกับกระเ๋ป๋าหน้าท้องของตัวเมีย) และลงมาจะเป็นอวัยวะเพศจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้น จะหดอยู่อยู่ในบริเวณทวารหนัก เมื่อโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตัวผู้มักจะเอาออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ

อ้างอิงโดยhttp://board.thaipetonline.com/index.php/board,37.0.html