วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกซื้อ ชูก้า


มักจะเจอกับคำถามว่า
1. จะเลือกซื้อชูการ์ยังไงดี ให้สุขภาพแข็งแรง
2. สายพันธุ์ออสเตรเลีย กับอินโดต่างกันยังไง
3. หน้าสั้นหน้ายาวดูตรงไหน
4. ร้านไหนดี ฟาร์มไหนมีคุณภาพ


มาตอบทีละข้อนะ (จากความคิดและประสบการณ์)
1. วิธีเลือกซื้อชูการ์เบื้องต้น
1.1 แนะนำให้ซื้อจากกลุ่มผู้เลี้ยงตามบ้านเพื่อให้ได้ลูกชูการ์ที่แข็งแรง และปลอดโรค(ในระดับหนึ่ง) แต่ถ้าหากหาชูการ์บ้านไม่ได้จิงๆ ทางเลือกต่อไปคือหาฟาร์มชูการ์ที่ไว้ใจได้
1.2 ฟาร์มชูการ์ ที่ควรพิจารณาคือ มีชื่อเสียงพอสมควร หรือเปิดมานานแล้วเป็นที่รู้จักและกลุ่มผู้เลี้ยงให้การยอมรับ สามารถค้นหาได้ตามบอร์ดซื้อ-ขายในเวปต่างๆ
1.3 หากจำเป็นต้องซื้อจาก jj (จตุจักร) ต้องบอกก่อนเลยการเลือกซื้อสัตว์เลี้ยงทุกชนิดจาก จตุจักรต้องทำใจอย่างมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวม สัตว์นานาชนิด และด้วยพื้นที่ ที่อากาศถ่ายเทได้ยากและมีบุคคลเดินเลือกซื้อของเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเชื้อโรคค่อนข้างเยอะเมื่อเชื้อโรคเจอกับอุณหภูมิที่ร้อนชื้นเหมาะกับการเจริญเติบโตได้ดี และขยายส่งต่อได้ในวงกว้างอาศัยการผ่านมือสัมผัสของกลุ่มลูกค้าจากตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง ทำให้ขยายไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วดังนั้นก่อนจะซื้อสัตว์เลี้ยงจาก จตุจักร จึงมีข้อให้สังเกตเบื้องต้นโดยพิจารณาดังต่อไปนี้
1. สถานที่เลี้ยง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยง/โชว์
1.1 เลือกดูร้านที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ดูกรงที่ใส่น้องชูโดยพิจารณาถึง ความสะอาดและโปรง
1.3 ดูร้านที่เอาใจใส่ พิจารณาจาก ภายในกรงควรจะมีผ้า หรือทิชชู รองภายในเพื่อให้น้องชูมีที่ซุกตัวนอน
1.4 ปริมาณน้องชูในแต่ละกรงต้องมีไม่เยอะมากนัก
1.5 วัสดุรองกรงภายในร้าน ควรเป็นผ้า พรม ทิชชู ที่สะอาดไม่สกปรกและไม่ควรเป็นขี้เลื่อย


2. สังเกตด้านกายภาพของน้องชู
2.1 ดูน้องชูที่ลืมตาเต็มที่แล้ว ดวงตาจะกลมโตเปิดกว้างหากน้องชูลืมตาเพียงเล็กน้อยหรือครึ่งเดียวแสดงว่าน้องชูตัวนั้นยังเด็กมาก ยังโตไม่เต็มที่
2.2 ดูที่ขนบริเวณลำตัว ขนต้องขึ้นเต็มทั้งตัวทั้งบนแผ่นหลัง และใต้ท้อง หากพบน้องชูที่ใต้ท้องยังเห็นเป็นหนังแดงๆ ไม่มีขนปกคลุมแสดงว่าน้องชูตัวนั้นยังไม่พร้อมแยกแต่ผู้ขายรีบขายเกินไป
2.3 ดูบริเวณก้นน้องชู ว่าแห้งสะอาดดีหรือไม่ หากก้นเปียกชื้นหรือมีอุจาระติดบริเวณโคนหาง เกรอะกรังไม่ควรเลือกมา เพราะน้องชูตัวนั้นอาจจะมีอาการท้องเสีย ติดเชื้อบิด เชื้อแบคทีเรีย หรือมีปัญหาภายในร่างกายได้
2.4 ดูอาการที่น้องแสดงออก ควรเลือกมีการไต่มือ ร้องโวยวาย หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเราจับตัว ไม่ควรเลือกน้องชูที่ซึม เซื่อง เพราะเค้าอาจป่วยอยู่
2.5 เอามือแตะบริเวณจมูก ว่าชื้นแฉะหรือไม่ หากมีจมูกที่ชื้นๆ แสดงว่าน้องชูยังสุขภาพดีอยู่ แต่ถ้าพบน้องชูที่จมูกแห้ง หรือมีน้ำไหนออกจากจมูก ลักษณะเช่นนี้ไม่ดีแน่ เพราะน้องเค้าอาจจะป่วยเป็นไข้หวัดอยู่
  สุดท้าย ขอให้สนุกกับการเลือกซื้อน้องชูการ์กันนะคะ
สิ่งสำคัญคือความรัก ความเอาใจใส่ อย่ารับน้องมาเพียงเพื่อต้องการเลี้ยงเป็นแฟชั่น หรือซื้อมาเพื่อเป็นของขวัญให้บุคคลที่เรารัก โดยไม่ได้ถามเค้าเลยว่าเค้าต้องการภาระที่เราจะมอบให้หรือไม่
1 ชีวิตมีคุณค่า มากกว่าเป็นเพียงของเล่นหรือของขวัญ
เมื่อรับเค้ามาแล้ว เค้าก็มีเพียงเราที่เป็นเพื่อน เป็นคนดูแล ควรมอบความรักให้เค้า และดูแลเอาใจใส่ให้ดีที่สุด อย่าเห็นว่าสิ่งมีชีวิตเป็นเพียงตัวแก้ความเหงา และควรศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงดูในละเอียดก่อนที่จะรับน้องชูมา เพื่อความพร้อมของผู้เลี้ยงและความสุขของเจ้าตัวน้อย


2. สายพันธุ์ออสเตรเรียกับอินโดต่างกันยังไง??
ต้องบอกตรงๆ ว่าไม่รู้เหมือนกัน (อ้าวขำกันทำไม)
ที่บอกว่าไม่รู้ ก็เพราะว่าหน้าตาเจ้าชูการ์มานก็เหมือนกันอ่ะ สีก็สีเดียวกัน
แต่ถ้าเจอคำถามแบบนี้สิ่งแรกที่จะถามก็คือ
คุณต้องการเลี้ยงชูการ์เพื่ออะไร??
1. เพื่อต้องการเพื่อนสนิท หรือเพราะชอบ นิสัย และหน้าตา ของเขา // นั่นใช่เลยคำตอบ เพราะเราจะไม่มาสนใจหรอกว่าเค้าจะมีต้นกำเนิดของบรรพบุรุษมาจากประเทศอะไร สนแค่ว่านิสัยถูกใจใช่เลยนี่ล่ะลูกของชั้น นี่ละชูการ์ และมานคือชูการ์
2. เพื่อต้องการมีไว้อวดเพื่อนว่าฉานมีตังค์เลี้ยงนะ นี่พันธุ์ออสเตรเลียแท้นะ สุดยอดละตัวนี้กว่าจะหามาได้ "โอ้แม่เจ้าก็จงพยายามหาต่อไปเหอะพันธุ์ออสเตรเลียที่กล่าวอ้างว่าหน้าตาดี มากมายแต่แน่ใจเหรอว่าได้ของแท้ เค้ามีใบรับประกันสายพันธุ์ให้เหรอ ถ้ามีก็โอเค 555 (เอามาให้ดูบ้างก็ดีอยากเห็นมากมาย) ชูการ์ก็หน้าเหมือนกันหมด แต่ความสวยงามมันขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู นิสัยที่ดีมันขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ แทนที่จะซื้อมาเพราะมานคือพันธุ์ออสเตรเลีย แต่อยากให้ซื้อมาเพราะเค้าคือชูการ์ คือสัตว์เลี้ยงที่เรารักมากกว่า
 "คุณควรซื้อเค้าเพราะนิสัยเค้าถูกกับจริตเรา ไม่ใช่ซื้อมาเพราะมันคือแฟชั่น หรือเพราะมันเป็นของนอกราคาแพง มีราคาค่าตัวสูง"
3. หน้าสั้นหน้ายาวดูตรงไหน
ตอนเล็กๆ ชูการ์ส่วนมากก็จะหน้าสั้นทั้งนั้นขึ้นอยู่ร้านที่เลี้ยงดูแม่พันธุ์ตอนที่เค้ามีลูก หากเลี้ยงดูดี ให้กินดีอยู่ดี รับรองลูกออกมาหน้าสั้นทุกตัว น่าตาน่ารัก แต่พอเริ่มอายุ 3.5-7 เดือน เอ๊ะทำไมลูกฉันหน้ายาวจัง อันนี้ไม่แปลกเพราะเค้าเริ่มยืดตัวหน้าก็จะเริ่มแหลม ตัวก็เริ่มยาว แต่เมื่อ 7.5 เดือนขึ้นไปไขมันที่กินสะสมจำนวนมาก ก็จะทำให้เค้าหน้าสั้นอีกครั้งเพราะอ้วนนั่นเอง
4. ร้านไหนดี ฟาร์มไหนดี
อย่างที่บอกตั้งแต่แรก ให้พิจารณาถึงวิธีการเลี้ยงดู การจัดโชว์และข้อมูลที่มีการบอกเล่าในกระทู้เก่าๆ ของเวบต่าง ๆ แต่ข้อมูลก็ควรผ่านการวิเคราะห์และไตร่ตรองความเป็นไปได้ด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ อย่าเชื่อไปสะทุกอย่าง ดังนั้นก่อนจะเลี้ยงน้องชูควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อน


เครดิต  http://www.pantown.com/board.php?id=47293&area=3&name=board8&topic=10&action=view ขอบคุณ นะค่ะ =/l\=

ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider)

     
        ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน คือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน(pouch) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ ไกลเดอร์ มีถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย  พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้  เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว          ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว มีขนที่นิ่มละเอียด  แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และมีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบินหรือร่อน

          สำหรับนิสัยของ ชูการ์ ไกลเดอร์ มันเป็นสัตว์ที่ต้องการสนใจและเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับมันบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก

อาหารและการเลี้ยงดู

          ชูการ์ ไกลเดอร์ มีอายุขัยเฉลี่ย 10-15 ปี ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์เชื่อง นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่องหรือกรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว

          ในเรื่องอาหารการกิน  ชูก้า ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท คือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก  แตงโม  ฯลฯ ทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีน 

          ส่วนปริมาณอาหารในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินวันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลดเหลือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้อาหารวันละ 1 ครั้งคือ ก่อนนอนก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย

          และแม้ว่า ชูการ์ ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไกลเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ ป้องกันไม่ให้ปอดชื้น

          สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ ไกลเดอร์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร ยิ่งหาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึก เพราะอาจโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน่อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุด

การเลือกซื้อ ชูการ์ ไกลเดอร์



          ในปัจจุบัน ชูก้า ไกลเดอร์ ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก ทั้งนี้ ชูการ์ ไกลเดอร์ สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง ส่วน ชูการ์ ไกลเดอร์ พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาลหรือส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ ชูก้า ไกลเดอร์ ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะ ชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน


อ้างอิงจาก http://pet.kapook.com/view3520.html